เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 น. - 16.30 น.

C
C
C
เลือกภาษา
ขนาดตัวอักษร

นโยบาย

และแผนความมั่นคง

เอกสาร

วิเคราะห์ความเชื่อมโยง

ข่าวสาร

และกิจกรรมต่างๆ

FAQ

คำถามที่พบบ่อย

นโยบายและแผนระดับชาติ

ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ

(พ.ศ. 2566 – 2570)

ฉบับเต็ม

นโยบายและแผนระดับชาติ

ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ

(พ.ศ. 2566 – 2570)

ฉบับพกพา (Booklet)

นโยบายและแผนระดับชาติ

ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ

(พ.ศ. 2566 – 2570)

ฉบับนำเสนอ (PowerPoint)

นโยบายและแผนระดับชาติ

ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ

(พ.ศ. 2566 – 2570)

ฉบับแผ่นพับ (Brochure)

บทสรุปผู้บริหาร

Executive
Summary

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดให้รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยของประชาชน..

The Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017) prescribes that the State shall protect and uphold the institution of kingship, independence, sovereignty, integrity of its jurisdiction and the areas over which Thailand has sovereignty rights..

เราใส่ใจ ให้ทุกคนเข้าถึง

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติจัดทำสื่อ
ให้ผู้คนสามารถเข้าใจและเข้าถึงเนื้อหา

ของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย
ความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570)
ได้ง่ายขึ้น ผ่านสื่อ "วิดีทัศน์"

Norway Timelapse
PlayPlay
a
PlayPlay
London Timelapse
PlayPlay
London Timelapse
PlayPlay
previous arrow
next arrow
Norway Timelapse
a
London Timelapse
London Timelapse
previous arrow
next arrow

ความเชื่อมโยงนโยบายและแผนความมั่นคง

เอกสารวิเคราะห์ความเชื่อมโยง

ข่าวประชาสัมพันธ์

นโยบายและแผนฯ

คำถามที่พบบ่อย

FAQ

ตอบ : พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 กำหนดให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ จัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติตามเป้าหมายและแนวทางที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สภา มช.) กำหนด เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้เป็นกรอบทิศทางในการดำเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อประโยชน์ในการธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ โดยต้องมีสาระที่ครอบคลุมถึงนโยบายภายในประเทศ นโยบายต่างประเทศ และนโยบายการทหารกับการเศรษฐกิจ และอื่น ๆ อันเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติให้สอดคล้องต้องกัน เพื่อให้กิจการของรัฐสามารถประสานกันได้อย่างใกล้ชิดเป็นผลดีต่อความมั่นคงแห่งชาติ

ตอบ : มุ่งเน้นจัดลำดับที่หมวดประเด็นความมั่นคงเป็นลำดับแรกก่อน เนื่องจากหมวดประเด็นศักยภาพความมั่นคงเป็นลักษณะเครื่องมือในการช่วยสนับสนุนป้องกันและแก้ไขในหมวดแรก ซึ่งการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความมั่นคง ใช้เครื่องมือ Risk Matrix โดยมีกระบวนการคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความมั่นคงที่มีผลกระทบและความเสี่ยงสูง ดังนี้

          1. สังเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มความเสี่ยงและโอกาส จึงกำหนดประเด็นความมั่นคงที่พิจารณาบนพื้นฐานผลประโยชน์แห่งชาติ การประเมินสถานการณ์ และการศึกษาของคณะที่ปรึกษาด้านวิชาการ ซึ่งประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบพบว่า ความเสี่ยงของภัยคุกคามในปัจจุบันและแนวโน้มเปลี่ยนผ่านระยะต่อไป มีทั้งสิ้น 28 ประเด็นความมั่นคง

          2. จัดทำหลักเกณฑ์ประเมินภาพรวมระดับความเป็นไปได้และระดับผลกระทบของแนวโน้มความเสี่ยงและโอกาสประเด็นความมั่นคง แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ดังนี้

          2.1 ระดับคะแนนสีแดง เป็นประเด็นที่จะส่งผลกระทบและแนวโน้มความเสี่ยงสูงอย่างร้ายแรง

          2.2 ระดับคะแนนสีส้ม เป็นประเด็นที่จะส่งผลกระทบและแนวโน้มความเสี่ยงสูงอย่างมาก

          2.3 ระดับคะแนนสีเหลือง เป็นประเด็นที่จะส่งผลกระทบและแนวโน้มความเสี่ยงสูง

          2.4 ระดับคะแนนสีเขียว เป็นประเด็นที่จะส่งผลกระทบและแนวโน้มความเสี่ยงเฝ้าระวัง

          3. สำรวจความเห็นและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงด้วยเทคนิคเดลฟาย เพื่อจัดลำดับความสำคัญประเด็นความมั่นคงที่มีผลกระทบและความเสี่ยงตามเกณฑ์ระดับคะแนนที่กำหนดไว้

          4. กำหนดประเด็นความมั่นที่มีความสำคัญในระดับคะแนนสีแดง และระดับคะแนนสีส้ม รวมทั้งสิ้น 13 ประเด็นความมั่นคง ซึ่งจำเป็นต้องมีเครื่องมือสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ทำให้จำแนกออกเป็น 2 หมวด ได้แก่ 1) หมวดประเด็นความมั่นคง และ 2) หมวดประเด็นศักยภาพความมั่นคง ทั้งนี้ ประเด็นอื่นยังคงได้รับความสำคัญไว้ในแผนแม่บทฯ

          5. เรียงลำดับของหมวดประเด็นความมั่นคง ยึดโยงกับเป้าหมายและแนวทางการดำเนินการในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 ของมาตรา 14

ตอบ : แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง และ นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566 – 2570) มีประเด็นที่สอดคล้องและสามารถขับเคลื่อนการปฏิบัติงานไปในคราวเดียวกันได้ ในการพิจารณา ประเมินผล การดำเนินการตามแผนแม่บทฯ และนโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566 – 2570) มีความแตกต่างในรายละเอียด 3 ประเด็น ดังนี้

          1. การขยายผลเชิงลึก นโยบายและแผนความมั่นคงภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566 – 2570) ในบางประเด็นมีการกำหนดตัวชี้วัดเชิงลึก อาทิ ตัวชี้วัดในนโยบายและแผนความมั่นคงที่ 3 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน ระบุเกี่ยวกับการพัฒนาระบบป้องกันตามแนวชายแดนด้วยการใช้เทคโนโลยี อย่างน้อยร้อยละ 85 ของจังหวัดชายแดนทั้งหมด ภายในปี 2570

          2. การเติมเต็มช่องว่าง นโยบายและแผนความมั่นคงภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566 – 2570) ในบางประเด็นมีการระบุเนื้อหาบางประเด็นซึ่งไม่ได้มีอยู่ในแผนแม่บทฯ อาทิ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 1 การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ มีการระบุเกี่ยวกับการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนในชาติอย่างสันติ และเคารพในความแตกต่างหลากหลายบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการให้ความสำคัญกับทุกศาสนา

          3. การระบุประเด็นที่มิได้กำหนดไว้ นโยบายและแผนความมั่นคงภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566 – 2570) มีการระบุเนื้อหาซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ได้แก่ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 13 การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคติดต่ออุบัติใหม่

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

กองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

0 2629 8000 ต่อ 1212
Email : popl.nsc@nsc.go.th

Top