เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 น. - 16.30 น.

C
C
C
เลือกภาษา
ขนาดตัวอักษร

องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่

สภาความมั่นคงแห่งชาติหรือที่เรียกโดยย่อว่า สภา มช. มีองค์ประกอบดังนี้

๑. นายกรัฐมนตรี ประธาน
๒. รองนายกรัฐมนตรี รองประธาน
๓. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สมาชิก
๔. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมาชิก
๕. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมาชิก
๖. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมาชิก
๗. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สมาชิก
๘. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมาชิก
๙. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สมาชิก
๑๐. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สมาชิก
๑๑. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สมาชิกและเลขานุการ

สภาความมั่นคงแห่งชาติมีหน้าที่

๑. จัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
๒. เสนอแนะและให้ความเห็นในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติในมิติด้านความมั่นคง หรือประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ ต่อนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
๓. พิจารณากำหนดยุทธศาสตร์หรือแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่อง แผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ และแผนบริหารวิกฤตการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ
๔. กำหนดแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีพิจารณา
๕. ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ภาพรวมในเชิงยุทธศาสตร์อันเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ
๖. กำกับและติดตามการดำเนินการตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
๗. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น หรือตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑. รับผิดชอบในงานธุรการของสภา และศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้านความมั่นคงที่เกี่ยวกับงานของสภา
๒. จัดทำร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติตามเป้าหมายและแนวทางที่สภากำหนดเพื่อเสนอต่อสภา
๓. เสนอแนะและให้ความเห็นต่อสภาหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และการอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ
๔. ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และให้ความเห็น ตลอดจนอำนวยการและประสานการปฏิบัติงานใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๕. ติดตาม ประเมิน วิเคราะห์ และแจ้งเตือนสถานการณ์ด้านความมั่นคง การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในเชิงยุทธศาสตร์ พิสูจน์ทราบและคาดการณ์ภัยคุกคาม และการประเมินกำลังอำนาจของชาติ
๖. ประสานงานหรือร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศในกิจการด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ ด้านความมั่นคงในเชิงยุทธศาสตร์ ด้านการประเมินสภาวะแวดล้อม และด้านวิชาการที่เกี่ยวกับความมั่นคง
๗. ศึกษา วิจัย รวบรวม พัฒนา ส่งเสริม และเผยแพร่ข้อมูลหรือองค์ความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ
๘. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น หรือตามที่สภา นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า สมช.

         เป็นส่วนราชการซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากรม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ พร้อมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ  โดยอยู่ในกลุ่มงานด้านนโยบายในสำนักนายกรัฐมนตรี  มีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหัวหน้าส่วนราชการในฐานะข้าราชการพลเรือนระดับปลัดกระทรวง (ระดับ ๑๑)  นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติรวม ๒๑ ท่าน ได้แก่

 

 

๑. พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ (พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๔)
๒. พันเอกพระยาศรีวิสารวาจา (พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๕๑๑)
๓. พลเอกจิร วิชิตสงคราม (พ.ศ. ๒๕๑๑ – ๒๕๑๖)
๔. พลเอกเล็ก แนวมาลี (พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๑๗)
๕. พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา (พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๒๓)
๖. นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ (พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๙)
๗. นายสุวิทย์ สุทธานุกูล (พ.ศ. ๒๕๒๙ – ๒๕๓๔)
๘. พลเอกจรัล  กุลละวณิชย์ (พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๙)
๙. พลเอกบุญศักดิ์ กำแหงฤทธิรงค์ (พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๑)
๑๐. นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ (พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๔๕)
๑๑. พลเอกวินัย ภัททิยกุล (พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๙)
๑๒. นายประกิจ ประจนปัจจนึก (พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐)
๑๓. พลโทศิรพงศ์ บุญพัฒน์ (พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๑)
๑๔. พลโทสุรพล เผื่อนอัยกา (พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๒)
๑๕. นายถวิล  เปลี่ยนศรี (พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๔)
๑๖. พลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๕)
๑๗. พลโทภราดร พัฒนถาบุตร (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๗)
๑๘. นายถวิล เปลี่ยนศรี
(กลับเข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สมช. ตามเดิมเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๗)
(พ.ศ. ๒๕๕๗- ๒๕๕๗)
๑๙. นายอนุสิษฐ คุณากร (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๕๘)
๒๐. พลเอกทวีป เนตรนิยม (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐)​
๒๑. พลเอก​วัลลภ​ รักเสนาะ (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒)​
๒๒. ​​พลเอกสมศักดิ์ รุ่งสิตา ​(พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๓)​
๒๓. ​​พลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ ​(พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔)
๒๔. ​​พลเอกสุพจน์ มาลานิยม ​(ปัจจุบัน)

ข้อคิดเห็น

Contact Form
Top