วิสัยทัศน์
“องค์กรนำด้านความมั่นคงแบบองค์รวม บนพื้นฐานการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ และบริหารจัดการความมั่นคงทุกมิติอย่างสมดุลและยั่งยืน”
วีดิทัศน์แนะนำ
วิดีทัศน์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
Overview of the National Security Council
พันธกิจ
๑. กำหนดทิศทาง ให้คำปรึกษา และเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางและแผนด้านความมั่นคงแห่งชาติให้สอดคล้องกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต
๒. อำนวยการ ประสาน และติดตามประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางด้านความมั่นคงไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
๓. ประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคง และการเตรียมความพร้อมแห่งชาติและบริหารวิกฤติความมั่นคงในการรับมือภัยคุกคามด้านความมั่นคง
๔. พัฒนาองค์ความรู้ความมั่นคงและเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
๕. พัฒนาประสิทธิภาพและเสริมสร้างสมรรถนะองค์กรและบุคลากร เพื่อเป็นองค์กรหลักด้านความมั่นคง
ยุทธศาสตร์องค์กร
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : เสริมสร้างความเป็นผู้นำด้านความมั่นคงของประเทศ | |
เป้าประสงค์ | ประเทศมีความมั่นคงทุกมิติ สามารถรักษาผลประโยชน์ของชาติ และมีระบบกลไกการบริหารจัดการความมั่นคงที่มีประสิทธิภาพ |
กลยุทธ์ |
๑. กำหนดทิศทางความมั่นคง และ เสริมสร้างศักยภาพการเป็นที่ปรึกษาและเสนอแนะนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ๒. พัฒนากลไกรูปแบบและเครื่องมือการพัฒนานโยบายและการบริหารจัดการความมั่นคง |
ตัวชี้วัด |
๑. จำนวนของนโยบาย ข้อเสนอแนะ แนวทาง และมาตรการ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคง ๒. ระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงานด้านการจัดการความมั่นคง |
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการภัยด้านความมั่นคง | |
เป้าประสงค์ | ประเทศมีความพร้อมบริหารจัดการภัยด้านความมั่นคง |
กลยุทธ์ |
๑. พัฒนาศักยภาพการประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคง การสร้างเครือข่ายประชาคมข่าวกรอง และการแจ้งเตือนสถานการณ์และภัยคุกคามด้านความมั่นคง ๒. พัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติให้พร้อมเผชิญวิกฤติการณ์ ๓. เสริมสร้างและพัฒนาระบบฐานข้อมูลความมั่นคง องค์ความรู้ด้านความมั่นคง และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ ๔. ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านความมั่นคงความมั่นคง ๕. เสริมสร้างความเข้าใจระหว่างฝ่ายการเมือง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน |
ตัวชี้วัด |
๑. จำนวนรายงานการประเมินสถานการณ์ความมั่นคง ๒. ระดับความสำเร็จการพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติให้พร้อมเผชิญกับภาวะไม่ปกติและจัดการความเสี่ยงอย่างบูรณาการ ๓. ระดับความสำเร็จการจัดทำฐานข้อมูลด้านความมั่นคง ๔. ร้อยละความพึงพอใจของภาคส่วนต่างๆ ๕. ระดับความสำเร็จการพัฒนากฎหมายความมั่นคง |
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : ขับเคลื่อนงานด้านความมั่นคงไปสู่การปฏิบัติ | |
เป้าประสงค์ | ประเทศมั่นคงปลอดภัย ลดผลกระทบเชิงลบ คุณค่าหลักได้รับการปกป้อง และสามารถจัดการความท้าทายจากภายนอกได้ทุกรูปแบบ |
กลยุทธ์ |
๑. ป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อ ความมั่นคง ความปลอดภัยและการพัฒนา ๒. ป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามข้ามพรมแดน ๓. เสริมสร้างความมั่นคงชายแดน และความมั่นคงทางทะเล |
ตัวชี้วัด |
๑. ร้อยละความสำเร็จการขับเคลื่อนนโยบาย แผน แนวทาง ด้านความมั่นคง ๒. จำนวนแนวทางมาตรการ การประสานและขับเคลื่อน แผนด้านความมั่นคง |
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : รักษาดุลยภาพทางการเมืองระหว่างประเทศ | |
เป้าประสงค์ | สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศเอื้อต่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติ และการพัฒนาผลประโยชน์ด้านความมั่นคงร่วมกับประเทศอื่น ๆ |
กลยุทธ์ |
๑. กำหนดท่าทีและประสานขับเคลื่อนการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงกับต่างประเทศ ๒. เสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศรอบบ้าน อาเซียนและนานาชาติ |
ตัวชี้วัด |
๑. ระดับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงในทุกมิติกับประเทศมหาอำนาจและประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ๒. จำนวนประเทศที่มีประเด็นความร่วมมือตามกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงกับต่างประเทศ |
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ | |
เป้าประสงค์ | ประชาชนในพื้นที่มีความมั่นคงปลอดภัย พร้อมพัฒนาสู่ความมั่งคั่งยั่งยืน |
กลยุทธ์ |
๑. กำหนดทิศทางและขับเคลื่อนนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒. ขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแสวงหาทางออกด้วยสันติวิธี ๓. อำนวยการ บริหารและพัฒนาการบูรณาการการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ แผนงานบูรณาการ และการประเมินสถานการณ์เชิงยุทธศาสตร์ |
ตัวชี้วัด |
๑. จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงลดลง ร้อยละ ๓๕ เทียบกับปี ๒๕๖๐ ๒. ระดับความสำเร็จของการพูดคุยเพื่อสันติสุข ๓. ร้อยละความสำเร็จ/ผลสัมฤทธิ์ของการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ |
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : ยกระดับขีดความสามารถการบริหารจัดการภายในองค์กร | |
เป้าประสงค์ | สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และสร้างบุคลากรสู่การเป็นนักความมั่นคงมืออาชีพ |
กลยุทธ์ |
๑. สร้างและพัฒนาบุคลากรให้เป็นนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงมืออาชีพ ๒. ส่งเสริมและพัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีตามแผนปฏิบัติการดิจิทัล และเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านความมั่นคงสนับสนุนการปฏิบัติงาน ๓. พัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อสถานการณ์ด้านความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไป ๔. เสริมสร้างระบบคุณธรรม ความโปร่งใส และเพิ่มประสิทธิภาพระบบงาน และสร้างกลไกการป้องกันการทุจริต |
ตัวชี้วัด |
๑. ร้อยละของบุคลากรได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามเกณฑ์ที่กำหนด ๒. ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรต่อการปฏิบัติงานในองค์กร ๓. ร้อยละความสำเร็จการพัฒนาระบบสารสนเทศ ตามแผนดิจิทัล ๔. ร้อยละการเบิกจ่ายเป็นตามเป้าหมาย มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ |