เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 น. - 16.30 น.

C
C
C
เลือกภาษา
ขนาดตัวอักษร

การแบ่งส่วนราชการ / ภารกิจ

ภารกิจ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

              กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๖๓ กำหนดให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีภารกิจเกี่ยวกับกิจการความมั่นคงของประเทศ การเสนอแนะ การจัดทำนโยบาย และแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายและยุทธศาสตร์หรือแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่อง แผนงานหรือแนวทางปฏิบัติ  ด้านความมั่นคงของชาติและแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ เสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ การติดตาม ประเมิน และวิเคราะห์สถานการณ์ภาพรวมในเชิงยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง การแจ้งเตือนภัยคุกคาม รวมทั้ง อำนวยการ และประสานงานให้เป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการประเมินผล ตลอดจนการพัฒนาและการจัดทำฐานข้อมูลและองค์ความรู้ด้านความมั่นคงที่มีคุณภาพ เพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยให้มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

              (๑)   ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

              (๒)   จัดทำร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ตามเป้าหมายและแนวทางที่สภาความมั่นคงแห่งชาติกำหนดเพื่อเสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ

              (๓)   เสนอแนะและให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติในมิติด้านความมั่นคง หรือการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และการอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรี

              (๔)   ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และให้ความเห็น ตลอดจนอำนวยการและประสานการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

              (๕)   ติดตาม ประเมิน วิเคราะห์ และแจ้งเตือนสถานการณ์ด้านความมั่นคง การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในเชิงยุทธศาสตร์ พิสูจน์ทราบและคาดการณ์ภัยคุกคาม และการประเมินกำลังอำนาจของชาติ

              (๖)   ประสานงานหรือร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศในกิจการด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ ด้านความมั่นคงในเชิงยุทธศาสตร์ ด้านการประเมินสภาวะแวดล้อม และด้านวิชาการที่เกี่ยวกับความมั่นคง

              (๗)   ศึกษา วิจัย รวบรวม พัฒนา ส่งเสริม และเผยแพร่ข้อมูลหรือองค์ความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ

              (๘)   ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

    สำนักงานเลขาธิการ มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการทั่วไป ของสำนักงานและราชการอื่นที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะหน้าที่ และอำนาจดังกล่าวให้รวมถึง

    (๑)   ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป และปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงาน

    (๒)   ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ งานเลขานุการ งานบริหารการประชุม และงานประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน

    (๓)   ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของสำนักงาน

    (๔)   ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดระบบงานและบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน

    (๕)   ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำและประสานแผนปฏิบัติราชการของสำนักงาน

    (๖)   ดำเนินการจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนภารกิจของสำนักงาน ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    (๗)   ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

    กองความมั่นคงกิจการชายแดนและประเทศรอบบ้าน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

    (๑)   ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ที่กระทบต่อเขตแดน ความมั่นคงชายแดน การบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง การค้าและเศรษฐกิจชายแดนในมิติความมั่นคง ตลอดจนความมั่นคงต่อประเทศรอบบ้านและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมถึงจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

    (๒)   เสนอแนะ จัดทำ ติดตาม ขับเคลื่อน ประเมินผล และพัฒนายุทธศาสตร์และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเขตแดน ความมั่นคงชายแดน การบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง การค้าและเศรษฐกิจชายแดนในมิติความมั่นคง ตลอดจนความมั่นคงต่อประเทศรอบบ้านและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

    (๓)   เสนอแนะแนวทางหรือมาตรการ อำนวยการ และประสานการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    (๔)   ปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามที่ได้รับมอบหมาย

    (๕)   ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

    กองความมั่นคงเกี่ยวกับภัยคุกคามข้ามชาติ มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

    (๑)   ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ภัยคุกคามข้ามชาติ อาชญากรรมข้ามชาติ และการก่อการร้าย ที่กระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

    (๒)   เสนอแนะ จัดทำ ติดตาม ขับเคลื่อน ประเมินผล และพัฒนายุทธศาสตร์ และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ อาชญากรรมข้ามชาติ และการก่อการร้าย

    (๓)   เสริมสร้างและประสานความร่วมมือทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ อาชญากรรมข้ามชาติ และการก่อการร้าย

    (๔)   ประเมิน วิเคราะห์ เสนอแนะ และจัดทำแผนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภาวะวิกฤต รวมทั้งประสานความร่วมมือทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

    (๕)   เสนอแนะแนวทางหรือมาตรการ อำนวยการ และประสานการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    (๖)   ปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามที่ได้รับมอบหมาย

    (๗)   ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

    กองความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้และชนต่างวัฒนธรรม มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

    (๑) ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งมิติภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

    (๒) เสนอแนะ จัดทำ ติดตาม ขับเคลื่อน ประเมินผล และพัฒนานโยบาย การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยุทธศาสตร์ แผนและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับ การแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้

    (๓) อำนวยการและดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งจัดทำแผนขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้

    (๔) ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง ชนต่างวัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ และการจัดการความขัดแย้งในพื้นที่ รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง

    (๕) เสนอแนะ จัดทำ ติดตาม ขับเคลื่อน ประเมินผล และพัฒนายุทธศาสตร์ และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ชนต่างวัฒนธรรม

    (๖) เสนอแนะแนวทางหรือมาตรการ อำนวยการ และประสานการปฏิบัติ ตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    (๗) ปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามที่ได้รับมอบหมาย

    (๘) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

    กองความมั่นคงด้านการเตรียมพร้อมและการป้องกันประเทศ มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

    (๑) ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงและนำไปสู่วิกฤตการณ์ระดับชาติ ภัยคุกคามด้านการทหารและสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการป้องกันประเทศและ ความมั่นคงเกี่ยวกับฐานทรัพยากร รวมถึงจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

    (๒) เสนอแนะ จัดทำ ติดตาม ขับเคลื่อน ประเมินผล และพัฒนายุทธศาสตร์ และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมพร้อมแห่งชาติ การบริหารวิกฤตการณ์ การพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ และการป้องกันประเทศ รวมทั้งส่งเสริมองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ

    (๓) อำนวยการบริหารวิกฤตการณ์ความมั่นคงระดับชาติและประสานความร่วมมือกับเครือข่ายการบริหารเหตุการณ์ภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งในภาวะปกติและภาวะไม่ปกติ

    (๔) เสนอแนะแนวทางหรือมาตรการ อำนวยการ และประสานการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    (๕) ปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามที่ได้รับมอบหมาย

    (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ ที่ได้รับมอบหมาย

    กองความมั่นคงทางทะเล ให้มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

    (๑) ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงและการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวมถึงจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

    (๒) เสนอแนะ จัดทำ ติดตาม ขับเคลื่อน ประเมินผล และพัฒนานโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และมาตรการในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเล รวมทั้งแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    (๓) ศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงทางทะเลและ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

    (๔) ส่งเสริม ประสานงาน หรือร่วมมือเพื่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเลกับหน่วยงาน สถาบัน และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางทะเลและการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

    (๕) เสนอแนะแนวทางหรือมาตรการ อำนวยการ และประสานการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    (๖) ปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามที่ได้รับมอบหมาย

    (๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

    กองความมั่นคงภายในประเทศ มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

    (๑) ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ กิจการภายในประเทศ สังคมจิตวิทยา การโยกย้ายถิ่นฐานของประชากรรวมถึงผู้หนีภัย การสู้รบ การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง และการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ รวมถึงจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

    (๒) เสนอแนะ จัดทำ ติดตาม ขับเคลื่อน ประเมินผล และพัฒนายุทธศาสตร์ และแผน ด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ กิจการภายในประเทศ สังคมจิตวิทยา การโยกย้ายถิ่นฐานของประชากรรวมถึงผู้หนีภัยการสู้รบการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง และการสร้างความปรองดองสมานฉันท์

    (๓) เสนอแนะแนวทางหรือมาตรการ อำนวยการ และประสานการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    (๔) ปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามที่ได้รับมอบหมาย

    (๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

    กองความมั่นคงระหว่างประเทศ มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

    (๑) ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านกิจการระหว่างประเทศกับกลุ่มประเทศ ประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก และองค์การระหว่างประเทศ ที่กระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

    (๒) เสนอแนะ จัดทำ ติดตาม ขับเคลื่อน ประเมินผล และพัฒนายุทธศาสตร์และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงระหว่างประเทศ เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติและ แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับกลุ่มประเทศมหาอำนาจ ตะวันออกกลาง เอเชียใต้หมู่เกาะเอเชียแปซิฟิก แอฟริกา โลกมุสลิม สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน รวมทั้งดำเนินการ ตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านความมั่นคง และกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

    (๓) เสนอแนะแนวทางหรือมาตรการ อำนวยการ และประสานการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    (๔) ปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามที่ได้รับมอบหมาย

    (๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

    กองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

    (๑) เสนอแนะ จัดทำ ติดตาม ประเมินผล พัฒนา และขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ

    (๒) บูรณาการความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนงานหลักระดับชาติที่เกี่ยวข้อง ให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ

    (๓) พิจารณาให้ความเห็นแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อประกอบการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ สำหรับแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นเรื่องสำคัญรวมทั้งติดตาม ประเมินผล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงาน

    (๔) ติดตามผลการดำเนินงานในภาพรวมของยุทธศาสตร์หรือแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเร่งรัดหรือปรับปรุงการดำเนินงานรวมทั้งเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานเรื่องยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน

    (๕) ศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อสร้างศักยภาพ และบริหารจัดการคลังสมองด้านความมั่นคง รวมทั้งขับเคลื่อนการดำเนินงานคณะที่ปรึกษาของสภาความมั่นคงแห่งชาติ

    (๖) พัฒนาฐานข้อมูลด้านความมั่นคงในภาพรวมของประเทศและบูรณาการฐานข้อมูลด้านความมั่นคง

    (๗) ส่งเสริม ประสานงาน หรือร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศในกิจการความมั่นคง ด้านความมั่นคงเชิงยุทธศาสตร์ ด้านการประเมินสภาวะแวดล้อมและด้านวิชาการที่เกี่ยวกับความมั่นคง รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับความมั่นคง

    (๘) เสนอแนะแนวทางหรือมาตรการ อำนวยการ และประสานการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    (๙) ปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามที่ได้รับมอบหมาย

    (๑๐) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

    กองประเมินภัยคุกคาม มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

    (๑) ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง กำลังอำนาจของชาติในเชิงยุทธศาสตร์ พิสูจน์ทราบและคาดการณ์สถานการณ์และภัยคุกคามซึ่งมีความเสี่ยงอันจะนำไปสู่ภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

    (๒) เสนอแนะ จัดทำ ติดตาม ขับเคลื่อน ประเมินผล และพัฒนายุทธศาสตร์และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง และประสานการปฏิบัติด้านการข่าวกรองกับประชาคมข่าวกรองทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ

    (๓) ติดตาม ประเมิน วิเคราะห์ และแจ้งเตือนสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ และให้ข้อเสนอแนะในการกำหนดระดับความร้ายแรงของภัยคุกคาม เสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมทั้งเสนอความเห็น แนวทาง มาตรการ หรือการดำเนินการอื่นที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาต่อนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี

    (๔) เสนอแนะแนวทางหรือมาตรการ อำนวยการ และประสานการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    (๕) ปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามที่ได้รับมอบหมาย

    (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

    ในสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้มีกลุ่มกฎหมาย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านกฎหมายและระเบียบของสำนักงาน รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

    (๑) อำนวยการ ประสานงาน และติดตามการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสภาความมั่นคงแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และกฎหมายด้านความมั่นคงอื่น ที่เกี่ยวข้อง

    (๒) ศึกษา วิเคราะห์ และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ

    (๓) ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ และพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมทั้งกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    (๔) ศึกษา วิเคราะห์ข้อกฎหมายและให้ความเห็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทางนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสำนักงาน

    (๕) เสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ รวมทั้งพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในกิจการของสำนักงาน

    (๖) ปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามที่ได้รับมอบหมาย

    (๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

    ในสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้มีกลุ่มตรวจสอบภายใน เพื่อทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบการดำเนินงานภายในสำนักงาน และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงาน รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ โดยมีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

    (๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของสำนักงาน

    (๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

    ในสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้มีกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เพื่อทำหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหารของสำนักงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ โดยมีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

    (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่เลขาธิการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน

    (๒) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน

    (๓) ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในสำนักงาน

    (๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

    ในสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้มีศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต เพื่อทำหน้าที่หลักในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรมในสำนักงาน รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

    (๑) เสนอแนะแก่เลขาธิการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสำนักงาน รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เสนอต่อเลขาธิการ

    (๒) ประสานงาน เร่งรัด และกำกับให้ส่วนราชการในสำนักงานดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ

    (๓) รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    (๔) คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

    (๕) ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดำเนินการตาม (๓) และ (๔) และร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    (๖) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสำนักงานและการคุ้มครองจริยธรรม เสนอต่อเลขาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    (๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ข้อคิดเห็น

Contact Form
Top