สถานการณ์ทะเลไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ : ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลของ…(ใคร)…ไทย?

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนางานวิจัยและขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัย  “ผลประโยชน์แห่งชาติและความมั่นคงทางทะเล”

และการบรรยายพิเศษเรื่อง “สถานการณ์ทะเลไทย พ.ศ. ๒๕๖๐: ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลของ…(ใคร)…ไทย?

                 เมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รศ.ดร.ธรรมนูญ หนูจักร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานเปิดงาน
งานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรายงานสถานการณ์และประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทะเลไทย และเผยแพร่ข้อมูลให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบ และเพื่อให้การขับเคลื่อนเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป โดยในช่วงที่ ๑  เป็นการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนางานวิจัยและขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัย “ผลประโยชน์แห่งชาติและความมั่นคงทางทะเล” ไปสู่การใช้ประโยชน์ ของ ๓ หน่วยงาน (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย)  ช่วงที่ ๒  เป็นการแถลงข่าวสถานการณ์ทะเลไทยฯ โดย ศ.ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ  ช่วงที่ ๓  เป็นการบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นสาคัญที่เกี่ยวข้องกับทะเลไทยใน พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้
               ๑) สถานการณ์และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะทะเลและชายฝั่ง โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธารงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
               ๒) การบริหารจัดการปะการังเสื่อมโทรมในประเทศไทย โดย ผศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน ประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
               ๓) แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดย อ.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ประจาภาคชีวิวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ
               ๔) ทางเลือกในการ รื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม โดย ศ.ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์
img
                  ผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทยในปัจจุบันมาจากกิจกรรมทางทะเลหลายรูปแบบ อาทิ การพาณิชยนาวี การประมง และการท่องเที่ยว ซึ่งกิจกรรมทางทะเลต่างๆ นำมาสู่ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว (ขยะทะเล ปะการังเสื่อมโทรม และการกัดเซาะชายฝั่ง) และแนวทางในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (การรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียมในทะเล) ในอดีตที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากแนวทางในการตอบสนองของการแก้ไขปัญหาถูกดำเนินการไปเฉพาะด้าน และขาดการบูรณาการแก้ไขในภาพรวมของภาคทะเลทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันภาครัฐได้มีความริเริ่มในการสร้างแนวทาง การตอบสนองในภาพรวม โดยให้ความสำคัญต่อการใช้ประโยชน์ทางทะเลควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้เกิดความยั่งยืนตลอดจนการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้อยู่ในมือคนไทยในปริมาณที่ควรจะเป็นโดยพยายาม ให้มีการดำเนินการร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นกับภาคเอกชนและภาคประชาชน
                 ในงานมีผู้เข้าร่วมกว่า ๒๐๐ คน อาทิ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการศึกษา บุคคลทั่วไปและสื่อมวลชน

img img

สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงกิจการชายแดนและประเทศรอบบ้าน
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

แชร์เลย