การประชุมเวทีผู้ลี้ภัยโลก ครั้งที่ ๑ (Global Refugee Forum – GRF)

Ξ ที่มาและความสำคัญของการประชุม
     การประชุมเวทีผู้ลี้ภัยโลก ครั้งที่ ๑ (Global Refugee Forum) ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๒ เป็นเวทีการประชุมครั้งแรกของโลก ที่ประเทศต่างๆแสดงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย ที่เน้นหลักการ “แบ่งเบาภาระและความรับผิดชอบ” โดยมีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งหประชาชาติ (UNHCR) และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นเจ้าภาพร่วม
Ξ องค์ประกอบคณะผู้แทนไทย
     สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงาน
Ξ ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุม
     ๑. ผู้เข้าร่วมประมาณ ๓,๐๐๐ คน
     ๒. ประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่ให้คำมั่น จำนวน ๗๗๐ คำมั่น
img
Ξ คำมั่นของไทย (ครม. เห็นชอบ เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๒)
     ๑. การดำเนินการต่อเนื่องเพื่อรองรับวุฒิการศึกษาและเอกสารทางการศึกษาของเด็กผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา
     ๒. การให้โอกาสในการทำงานสำหรับผู้ที่เดินทางกลับไปแล้วตามกฎระเบียบของไทย และ การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องล่วงหน้าก่อนเดินทางกลับเมียนมา
     ๓. การพัฒนาความร่วมมือในกระบวนการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา
     ๔. แนวทางการใช้การพัฒนาเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมพื้นที่รองรับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาและชุมชนท้องถิ่น
     ๕. การเสริมสร้างความสามารถและทักษะที่จำเป็นให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการนำระบบคัดกรองเพื่อคัดแยกผู้ที่ต้องการความคุ้มครองระหว่างประเทศออกจากผู้แสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจมาปฏิบัติ
     ๖. การนำมาตรการทางเลือกแทนการคุมขังเด็กที่ต้องการความคุ้มครองระหว่างประเทศ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ๗. การจัดให้เด็กที่ต้องการความคุ้มครองระหว่างประเทศในประเทศไทยเข้าถึงการดูแลด้านสุขภาพที่เหมาะสม
     ๘. การส่งเสริมการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยไม่เลือกปฏิบัติภายใต้ โครงการ “ยุติธรรมใส่ใจ”
img img
    ไทยมีการจัดตั้งคณะทำงานระดับชาติเพื่อทำหน้าที่ประสานงานและนำข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัย (Global Compact on Refugee-GCR) นำไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการแสวงหาทางออกที่ยั่งยืนให้กับผู้ที่ต้องการความคุ้มครอง โดยเฉพาะสตรีและเด็กซึ่งเป็นไปบนพื้นฐานของหลักการมนุษยธรรมและการแบ่งเบาภาระความรับผิดชอบ
    ภายหลังจากที่ไทยได้มีการลงนาม บันทึกความเข้าใจ เรื่อง การกำหนดมาตรการและแนวทางแทนการกักตัวเด็กไว้ในสถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ ไทยได้มีการพัฒนาศักยภาพและความพร้อมของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการนำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายในเรื่องการนำมาตรการทางเลือกแทนการคุมขังเด็กที่ต้องการความคุ้มครองระหว่างประเทศ
    การเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ให้มีความพร้อมในการทำงานภายใต้กลไกระบบคัดกรองและคุ้มครองคนต่างด้าว ซึ่งคาดว่าจะบังคับใช้ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ และหวังว่าไทยจะได้ใช้ประโยชน์จากกลไก Asylum Capacity Support Group ที่ UNHCR ได้ริเริ่มขึ้น มาสนับสนุนการใช้ระบบคัดกรองของไทย
    ไทยได้รับภาระในการดูแลผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาอย่างยาวนานมากกว่าแสนคนและปัจจุบันได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลเมียนมาและภาคส่วนต่างๆ ในการขับเคลื่อนกระบวนการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบกลับโดยสมัครใจ โดยได้นำแนวทางการพัฒนารูปแบบต่างๆ มาใช้เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้หนีภัยการสู้รบ
img

สรุปสาระสำคัญในภาพรวม
การประชุมเวทีผู้ลี้ภัยโลก ครั้งที่ ๑
(Global Refugee Forum – GRF)

๑. ที่มาและความสำคัญ
                     ด้วย กระทรวงการต่างประเทศ ขอให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ พิจารณาเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยใน การประชุมเวทีผู้ลี้ภัยโลก ครั้งที่ ๑ (Global Refugee Forum-GRF) ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๒ ในฐานะหน่วยงานที่กำกับในระดับนโยบาย ซึ่งหัวหน้าคณะผู้แทนไทยจะมีโอกาสกล่าวถ้อยแถลงที่สอดแทรกคำมั่นที่ไทยจะประกาศในที่ประชุม และเป็นโอกาสที่ไทยจะได้แสดงถึงความมุ่งมั่นและนโยบายในการร่วมแก้ไขปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัย
๒. ความมุ่งหมายของการประชุม
                     การประชุม GRF ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมเพื่อติดตามผลการนำ “ข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัย” (Global compact on Refugees – GCR) ไปปฏิบัติ รวมทั้งเป็นโอกาสที่ประเทศต่างๆ จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี พร้อมทั้งการเป็นผู้ร่วมอุปถัมภ์ (co-sponsor) ในหัวข้อการประชุมที่แต่ละประเทศสามารถเป็นต้นแบบเพื่อการขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าวได้ โดยการประชุมให้ความสำคัญกับการหารือใน ๖ ประเด็น คือ การแบ่งเบาภาระความรับผิดชอบ (burden and responsibility sharing) การศึกษา (education) โอกาสในการทำงาน และความเป็นอยู่ (jobs and livelihoods) การเข้าถึงพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน (energy and infrastructure) การแสวงหาทางออก (solutions) และศักยภาพในการคุ้มครองผู้ลี้ภัย (protection capacity)
img
๓. สรุปภาพรวมของการประชุม
                     ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม มีประเทศและองค์การระหว่างประเทศ รวมถึงสถาบันวิชาการ และภาค ประชาสังคมต่างๆ ได้ให้คำมั่นในเรื่องการช่วยเหลือและปกป้องผู้ลี้ภัย โดยยึดหลักการในเรื่องการแบ่งเบาภาระและ ความรับผิดชอบ จำนวนทั้งสิ้น ๗๗๐ คำมั่น โดยมีองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ธนาคารโลกที่ประกาศจะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน จำนวนกว่า ๒ พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศต่างๆ จำนวน ๑๓๕ ประเทศ ที่ประกาศจะให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน รวมเป็นจำนวนกว่า ๒ พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงความช่วยเหลือรูปแบบอื่น เช่น การให้โอกาสในการทำงานและการให้คำปรึกษาทางกฎหมายซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นพ้องกับหลักการการทำงานในระยะต่อไปว่าต้องอยู่บนหลักการแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกันทั้งประเทศที่รับภาระดูแลผู้ลี้ภัยประเทศต้นทาง และประเทศที่รับผู้ลี้ภัยไปตั้งถิ่นฐาน รวมถึงประชาคมระหว่างประเทศทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นไปตาม หลักการที่ปรากฎในเอกสารข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัย (GCR)

img img img

    – เน้นการแก้ไขปัญหาที่ประเทศต้นทาง พัฒนาทางออกที่ยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพ ทักษะด้านต่างๆ ของผู้ลี้ภัย
    – เน้นช่วยเหลือกลุ่มเด็กและสตรีเป็นลำดับแรก
    – ให้เงินช่วยเหลือในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการกลับคืนสู่สังคมของผู้ลี้ภัย
    – ริเริ่มโครงการตั้งถิ่นฐานสำหรับผู้ที่ต้องการได้รับความคุ้มครองอีกครั้ง
img
    – ยังคงความต่อเนื่องของนโยบายการตั้งถิ่นฐานในแคนาดา รวมทั้งเน้นในเรื่องการดูแลผู้ลี้ภัยที่มีปัญหาการขยับฐานะทางเศรษฐกิจ (economic mobility) รวมถึงการรับผู้ที่เคลื่อนไหวด้านการเมือง มนุษยธรรม/สิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน ที่หนีจากการประหัตประหารจากประเทศต้นทางและต้องการสถานะผู้ลี้ภัยในแคนาดา
    – แคนาดาพร้อมที่จะแบ่งปันแนวปฏิบัติให้กับประเทศต่างๆ ในเรื่องของการตั้งถิ่นฐานและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ลี้ภัย
    – ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการให้การศึกษาและการพัฒนาแก่ผู้ลี้ภัยที่เป็นสตรีและเด็กผู้หญิง
img
    – ให้คำมั่นว่าจะเพิ่มจำนวนการรับผู้ลี้ภัยที่ต้องการตั้งถิ่นฐานในฟินแลนด์ ในปี ค.ศ. 2020 รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินมากขึ้น
    – ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่เป็นผู้พิการเป็นลำดับแรก และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ลี้ภัยที่เป็นผู้พิการให้แก่ประเทศต่างๆ ที่ประสบปัญหา
img
    – เพิ่มจำนวนการรับผู้ลี้ภัยที่ต้องการมาตั้งถิ่นฐาน
    – สนับสนุนการแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลของความช่วยเหลือทางการเงินในปัจจุบันกับจำนวนงบประมาณที่ต้องการในการดูแลผู้ลี้ภัยทั่วโลก
img
    – นำเสนอตัวแบบของประเทศที่มีกฎหมายและหน่วยงานเฉพาะ (ชาติแรกของเอเชีย) ในการจัดทำระบบคัดกรองผู้ลี้ภัยและพิจารณาสถานะเป็นของตัวเอง
    – พร้อมสนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงการพัฒนาต่างๆ สำหรับการตั้งถิ่นฐานของผู้ลี้ภัย
คณะผู้แทนไทย
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทย
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชำติ
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงยุติธรรม
สำนักงานตำรวจแห่งชำติ
กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน

 

เรียบเรียงโดย
สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงภายในประเทศ
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
๘ มกราคม ๒๕๖๓

 

ดาวน์โหลดเอกสารในรูปแบบ PDF   

แชร์เลย