สภาความมั่นคงแห่งชาติ
ประวัติความเป็นมา
โปรดเกล้าฯ ให้มีสภาเกี่ยวกับการป้องกันราชอาณาจักรขึ้นในปี พ.ศ. 2453 เพื่อดำเนินการด้านการทหารในการป้องกันประเทศและได้ทรงเป็นประธานด้วยพระองค์เอง ต่อมาองค์กรสภาความมั่นคงแห่งชาติมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2502 ซึ่งเป็นการขยายบทบาทหน้าที่อำนาจเพิ่มเติมจากการกำหนดนโยบายความมั่นคงด้านการทหารให้ครอบคลุมถึงนโยบายต่างประเทศ นโยบายเศรษฐกิจ ฯลฯ ที่เกี่ยวกับความมั่นคง รวมถึงการเป็นกฎหมายจัดตั้งสำนักงาน
สภาความมั่นคงแห่งชาติขึ้นเป็นส่วนราชการพลเรือน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีอีกด้วย ทั้งนี้ ในการจัดตั้งสภาความมั่นคงแห่งชาติของไทย
มีต้นแบบและได้รับแนวคิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2453 – สภาความมั่นคง
แห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
สภาความมั่นคงแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้มีการพิจารณางาน ในภารกิจ
ทางด้านการทหารเพื่อการป้องกันประเทศ
เป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ มีประสิทธิภาพ และมีการประสานงานซึ่งกันและกัน จึงได้ทรงโปรดเกล้าให้มีสภาเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวขึ้น
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453
พ.ศ. 2470 – เปลี่ยนชื่อเป็น
“สภาป้องกันพระราชอาณาจักร”
ได้มีการปรับปรุงและแก้ไของค์ประกอบของสภามาเป็นลำดับ กล่าวคือในปี พ.ศ. 2470
ได้มีการแก้ไขปรับปรุงทั้งในด้านองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ และเรียกชื่อใหม่ว่า
“สภาป้องกันพระราชอาณาจักร”
พ.ศ. 2487 – จัดตั้ง
“สภาการสงคราม”
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการจัดระเบียบการป้องกันราชอาณาจักรขึ้นใหม่ สภาป้องกันพระราชอาณาจักรจึงถูกยกเลิกไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2487
ได้มีการจัดตั้ง “สภาการสงคราม” ขึ้น
โดยออกเป็นพระราชบัญญัติชื่อว่าพระราชบัญญัติสภาการสงคราม ซึ่งนับเป็นพระราชบัญญัติฉบับแรกที่เกี่ยวกับ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ
พ.ศ. 2499 – ออกพระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักรใหม่
31 มกราคม พ.ศ. 2499 ได้มีพระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักรออกมาใหม่
ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม
พ.ศ. 2502 – ประกาศใช้
พระราชบัญญัติสภาความมั่นคง
แห่งชาติ พ.ศ. 2502
ได้มีการปรับปรุงและแก้ไของค์ประกอบ
ของสภามาเป็นลำดับ กล่าวคือในปี
พ.ศ. 2470 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงทั้งในด้านองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ และเรียกชื่อใหม่ว่า “สภาป้องกันพระราชอาณาจักร”
พ.ศ. 2559 – ประกาศใช้
พระราชบัญญัติสภาความมั่นคง
แห่งชาติ พ.ศ. 2559
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2559 ได้ประกาศใช้
พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ
พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไข
พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ
พ.ศ. 2502 ในลักษณะยกเลิกกฎหมายเดิม และตรากฎหมายฉบับใหม่ขึ้น โดยพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย
มาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน – สภาความมั่นคงแห่งชาติ
ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2502 นับเป็นการเปลี่ยนแปลงจาก “สภาป้องกันราชอาณาจักร” เป็น
“สภาความมั่นคงแห่งชาติ”
มาจนกระทั่งทุกวันนี้
ในขณะนั้นหรือการตรากฎหมายขึ้น ซึ่งมี 3 ระยะ ดังนี้
1. สภาความมั่นคงแห่งชาติของไทยในยุคเริ่มต้นจนถึงยุคก่อนปัจจุบัน (พ.ศ. 2453 – 2501)
เนื่องจากในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้การดำเนินงานทางด้านการทหารเพื่อการป้องกันประเทศ
มีการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ มีประสิทธิภาพ และมีการประสานงานกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีสภาขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวในปี พ.ศ. 2453 ซึ่งในครั้งนั้น ยังไม่มีการเรียกชื่อเป็นการเฉพาะ เรียกแต่เพียงว่าเป็นสภาเกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาจักรเท่านั้น และมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธาน
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชดำริว่าสภาที่ตั้งขึ้นซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการพิจารณาป้องกัน
พระราชอาณาจักรนั้น สมควรปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนกิจการทหารที่ได้มีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2470 ให้ยกเลิกสภาที่มีอยู่ และตั้งสภาขึ้นใหม่ โดยมีชื่อว่า
ในระหว่างปี พ.ศ. 2482 – 2487 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยประกาศใช้
2. สภาความมั่นคงแห่งชาติในยุคก่อนปัจจุบัน (พ.ศ. 2502 – 2558)
สภาป้องกันราชอาณาจักรได้ดำเนินการเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2502 จึงได้มีการปรับปรุงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยมีบทบัญญัติให้ยกเลิก “สภาป้องกันราชอาณาจักร” และประกาศใช้
“สภาความมั่นคงแห่งชาติ”
สภาความมั่นคงแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ โดยการดำเนินการของสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นไปในรูปแบบของการระดมความคิดเห็นจาก
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ คณะกรรมการร้อยกรองงานฯ คณะกรรมการ
ประสานงานฯ คณะกรรมการนโยบายฯ คณะกรรมการเตรียมพร้อมแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล และคณะกรรมการอำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ เป็นต้น
โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาเสนอแนะคณะรัฐมนตรีในเรื่องนโยบายภายใน นโยบายต่างประเทศ
และนโยบายการทหารกับการเศรษฐกิจ ฯลฯ อันเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติให้สอดคล้องกัน เพื่อให้กิจการทหารและกระทรวง ทบวง กรม
และองค์กรอื่น ๆ ของรัฐ สามารถประสานกันได้อย่างใกล้ชิดและเป็นผลดีต่อความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงการพิจารณาเกี่ยวกับความมั่นคง
แห่งชาติ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่อว่า “เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ” เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญรับปลัดกระทรวง และข้าราชการประจำ
ในสำนักงานฯ มีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ทั้งนี้ การแบ่งงานภายในสำนักงานฯ เดิมแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนนโยบาย และส่วนประสานงาน ตามแบบของสหรัฐฯ โดยส่วนนโยบายแบ่งออกเป็น 4 กอง คือ กองการเมืองภายใน กองการเมืองภายนอก กองนโยบายเศรษฐกิจ และกองนโยบายทหาร ซึ่งสำนักงานฯ มีการพัฒนาองค์กรตามยุคสมัยมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์
ความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไป และเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ได้ประกาศใช้กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2554 ก่อนที่จะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคปัจจุบัน
3. สภาความมั่นคงแห่งชาติยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
จากสถานการณ์และปัญหาภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติในปัจจุบันมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติต้องมีระบบ กระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินงานที่ซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น สภาพปัญหาและภัยคุกคามมีความละเอียดอ่อน เชื่อมโยงกันในทุกระดับ ส่งผลกระทบในหลายมิติ จึงจำเป็นต้องพัฒนากลไกการแก้ไขปัญหา
ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการด้านความมั่นคงแห่งชาติและการรักษาความมั่นคงแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและพร้อมรองรับสถานการณ์ด้านความมั่นคงและแนวโน้มภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติยิ่งขึ้น โดยในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 มีมติเห็นชอบให้ทุกส่วนราชการเร่งจัดทำร่างกฎหมายใหม่หรือปรับปรุงกฎหมายเดิมและเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายที่ล้าสมัย หรือเพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ ซึ่งในส่วนของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาตินั้น รองนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบด้านกฎหมายในขณะนั้น (นายวิษณุ เครืองาม) พิจารณาเห็นควรให้หน่วยงานพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสภาความมั่นคงแห่งชาติ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับมานาน สมควรแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์ด้านความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยเหตุนี้ สำนักงานฯ จึงได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2502 ในลักษณะยกเลิกกฎหมายเดิม พร้อมทั้งผ่านกระบวนการพิจารณาตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง จนในวันที่ 26 กันยายน 2559 พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2559 ได้ประกาศลงในราชกิจจา
นุเบกษาให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายมาจนถึงปัจจุบัน