พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ การกำหนดมาตรการและแนวทางแทนการกักตัวเด็กไว้ในสถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ

การกำหนดมาตรการและแนวทางแทนการกักตัวเด็กไว้ในสถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ

วันจันทร์ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล

                   เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การกำหนดมาตรการและแนวทางแทนการกักตัวเด็กไว้ใน สถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ ระหว่างหัวหน้าส่วนราชการ ๗ หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงแรงงาน โดยมี รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว
                   การจัดทาบันทึกความเข้าใจเป็นการดำเนินการที่สืบเนื่องจากการที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านผู้ลี้ภัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (Leaders’ Summit on Refugees) เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๙ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และได้ประกาศคามั่นในการไม่กักตัวเด็กในห้องกักตรวจคนเข้าเมือง และคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก รวมทั้งการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) โดยได้ย้าถึงความสาคัญของการให้การคุ้มครองเด็กผู้โยกย้ายถิ่นฐาน
                   พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของไทย กรณีผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายเป็นเด็กจนนำมาสู่ การจัดทำบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การกำหนดมาตรการและแนวทางแทนการกักตัวเด็กไว้ในสถานกักตัว คนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ นำมาสู่การร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ในวันนี้
                   บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและแนวทางปฏิบัติงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาการกักตัวเด็กของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้เป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ยังแสดงถึงความพยายามของรัฐบาลไทยในการช่วยเหลือและปกป้องคุ้มครองเด็ก ที่ถูกกักไว้ในสถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ โดยยึดหลักการสาคัญ คือ การไม่กักตัวเด็ก ในห้องกักตรวจคนเข้าเมืองและคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก
                   ความสำเร็จในการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ในครั้งนี้ ถือได้ว่าประเทศไทยได้ดำเนินการ ตามคำมั่นที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศไว้ และเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ในการส่งเสริมปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยการบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของไทยกับประชาคมระหว่างประเทศ

 

The Signing Ceremony of the Memorandum of Understanding on the Determination of Measures and Approaches Alternative to Detention of Children in Immigration Detention Centers

สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงภายในประเทศ
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
๒๑ มกราคม ๒๕๖๒

แชร์เลย