เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 น. - 16.30 น.

C
C
C
เลือกภาษา
ขนาดตัวอักษร

แผนการพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ

        แผนการพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
พัฒนาขึ้นจากยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดนและยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเสริม
ความมั่นคงของชาติ
ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ชุมชน และพื้นที่เป้าหมาย
เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงตั้งแต่ฐานราก โดยกระบวน การดำเนินงานพัฒนาเพื่อ
เสริมความมั่นคงควบคู่ไปกับการดำเนินงานความมั่นคงที่ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย
ทางด้านความมั่นคงทั้งพื้นที่ชั้นใน พื้นที่ชายแดน และพื้นที่ชายฝั่งทะเลเกาะแก่ง

“คน ชุมชน และพื้นที่เป้าหมายมีการพัฒนา มีจิตสำนึกความมั่นคง มีภูมิคุ้มกัน สามัคคีปรองดอง สามารถพัฒนาร่วมกับประเทศรอบบ้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัย และประโยชน์สุขของประชาชน”

        “คู่มือตัวชี้วัดภายใต้แผนการพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
(พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๕)”
เป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลความสำเร็จของการ
ขับเคลื่อนแผนการพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๕)
นับเป็นคู่มือนำร่องฉบับแรกที่ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้เข้ามาเป็น
หุ้นส่วนภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยมีรายละเอียดของตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย นิยาม ขอบเขต และหน่วยงานรับผิดชอบ รวมทั้งมีการกำหนดรูปแบบและวิธีการติดตามและประเมินผลให้สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

กลไกขับเคลื่อนแผนการพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔)

               (๑) การขับเคลื่อนแผนฯ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายการทางานร่วมกันภายใต้กลไกสำนักเลขานุการฯ ได้แก่  สล.นพช.,  สล.อปพ.  และ สล.พมพ.ทภ. ๑ – ๔ / สล.พมพ.ทรภ.   ๑ – ๓ และ  สล.พมพ.กปช.จต. เพื่อให้เกิดการทางานที่มีการบูรณาการและมีเอกภาพภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘

               (๒) การขับเคลื่อนการดำเนินงานระดับจังหวัด มีการตรวจสอบแผนงานด้านการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงจังหวัด และผลักดันให้มี แผนงาน/โครงการ งบประมาณ ด้านการพัฒนาเพื่อเสริม ความมั่นคงบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัด

               (๓) การบูรณาการ แผนงาน/โครงการ ทั้งระดับภาคและระดับจังหวัด โดยต้องดำเนินการ ผ่าน อปพ. ก่อนเสนอ นพช.

พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคง

               พื้นที่ที่มีปัญหาความมั่นคง หรือพื้นที่ที่มีเงื่อนไขของปัญหาความมั่นคง หรือพื้นที่ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาทางความมั่นคง โดยมีขอบเขตพื้นที่ทุกจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชั้นใน จังหวัดชายแดน และจังหวัดชายทะเลและเกาะแก่ง

               แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ลักษณะ ได้แก่ ๑) พื้นที่เป้าหมายที่จังหวัดประกาศ  ๒) พื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ (โครงการ พมพ.)  และ  ๓) พื้นที่เป้าหมายอืน

กองทัพบก
สำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงาน กปร.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวัฒนธรรม​
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Top